ผ้าไหมยกดอกแห่งเมืองลำพูน ศิลปินไหมยกดอกของลำพูนเคยถวายการรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระนาง เจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในการคัดลอกลายผ้าโบราณแล้วทอขึ้นมาใหม่ ทั้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าให้ทอผ้าไหมยกดอกสำหรับเป็นฉลองพระองค์ และโปรดเกล้าฯให้นำไปเผยแพร่ยังต่างประเทศ กรมศิลปากรยังวางใจให้คัดเลือกลายโบราณที่ได้ศึกษาและเก็บรวบรวมไว้แล้วทอ ขึ้นมาใหม่ คงรูปแบบให้เหมือนเดิม เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา การทอผ้ายกหรือมุกเป็นวิธีการทอให้เกิดลวดลายโดยการยกตะกอแยกด้วยด้ายเส้น ยืน และในบางครั้ง การยกดอกจะมีการเพิ่มด้ายเส้นพุ่งจำนวนสองเส้น หรือมากกว่านั้นเข้าไปในผืนผ้า ลวดลายผ้าวิจิตรบรรจงละเอียดมากน้อยเพียงใดอยู่ที่การสาวไหมแยกในตะกอ เพื่อต่อลายยิ่งตะกอมาก ลวดลายยิ่งละเอียด ผ้าไหนผืนงามบอบบางสุดวิจิตร บางผืนแยกไหมในตะกอหลายสอบตะกอราคาผืนละหลายหมี่นบาท ไม่มีใครปฏิเสธ คนลำพูนนั้นทอผ้าใช้เองมาแต่นมนานผ้ายกดอกนั้นก็มีใช้อยู่แต่เดิมแต่เป็นการ ทอยกดอกในผ้าฝ้ายเป็นลวดลายไม่วิจิตรนักกระทั่งพระราชชายาเจ้าดารารัศมีใน รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นพระญาติกับเจ้าเมืองลำพูนได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการทอผ้าไหมยกดอก ที่มีลอดลายสวยงามแปลกตาและวิจิตรบรรจงซึ่งพระองค์ได้เรียนรู้มาจากราชสำนัก ให้แก่เจ้าหญิงส่วนบุญพระราชชายาของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์สุดท้ายและเจ้าหญิงลำเจียกธิดาเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ การทอผ้าไหมยกดอกจึงเป็นที่แพร่หลายทั่วไปคนรุ่นหลังเรียนรู้การทอผ้าไหมยก ดอกจากคนในคุ้ม ต่อมาผ้าไหมยกดอกจึงกลายเป็นศูนย์กลางการทอผ้าไหมยกดอกที่สำคัญนับแต่นั้น เป็นต้นมา