Messages in this topic - RSS

Home » ความรู้เรื่อง GI » ขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

ความรู้เรื่อง GI
|
30/4/2555 15:50:29

CMUAdmin
CMUAdmin
Administrator
Posts: 7
ผู้มีสิทธิยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
1. ผู้มีสิทธิขอขึ้นทะเบียน ได้แก่
1.1 ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ที่เป็นนิติบุคคลและมีเขตรับผิดชอบครอบคลุมบริเวณแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้านั้น
1.2 บุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และมีอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์นั้น
1.3 กลุ่มหรือองค์กรผู้บริโภคสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
2. คุณสมบัติของผู้ขึ้นทะเบียน
1.1 ผู้มีสัญชาติไทย
1.2 ผู้มีสัญชาติของประเทศที่เป็นภาคีของอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีด้วย หรือมีภูมิลำเนาหรือสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยหรือประเทศภาคีดังกล่าว

ผู้มีสิทธิใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน
ผู้มีสิทธิใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนได้แก่ ผู้ผลิตสินค้าที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นและผู้ประกอบการค้าที่เกี่ยวกับสินค้านั้น

ขั้นต้อนการได้มาซึ่งความคุ้มครองในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
1. กำหนดสินค้าที่ต้องการคุ้มครองและรวมกลุ่มผู้ประกอบการทั้งสายการผลิต (ตั้งแต่ผู้ผลิตวัตถุดิบต้นน้ำ จนถึงผู้ประกอบการแปรรูปปลายน้ำ) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการ ขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมทั้งในแง่มุมทางเศรษฐศาสตร์ว่า การขึ้นทะเบียนดังกล่าวจะให้ผลคุ้มค่าต่อกลุ่มหรือไม่ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายสำหรับระบบรับรองมาตรฐาน และกลุ่มจะมีแผนทำการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นอย่างให้ติดตลาด
2. กำหนดข้อกำหนดมาตรฐานขั้นตำของสินค้า รวมถึงมาตรฐานในการผลิตสินค้า (Specification and Standard of Production) โดยยึดความเข้าใจของผู้บริโภคเป็นหลัก เช่น ถ้าพูดถึงสินค้า จากแหล่งนี้ ผู้บริโภคจะนึกถึงคุณลักษณะอะไรเป็นสำคัญ
3. กำหนดขอบเขตพื้นที่ในการผลิต (Zoning or Boundary setting) ตามสภาพของพื้นที่ที่เอื้อในการผลิตสินค้านั้นจริง (ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามเขตการปกครอง)
4. นำร่างมาตรฐานการผลิตมาขอรับรองกับหน่วยงานรับรอง (Certification Body : CB) ว่าได้มาตรฐานหรือไม่ พร้อมทั้งยกร่างมาตรการควบคุมการผลิตสินค้า GI นั้นๆ (Control Plan) เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบในการขอยื่นขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย
5. ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
6. จัดตั้งกลไกควบคุมการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และมาตรการควบคุมการผลิตสินค้าตามที่ นายทะเบียนได้กำหนดไว้ในทะเบียนให้เป็นเงื่อนไขของการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
7. ทำการตลาดด้วยการประชาสัมพันธ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้น โดยใช้คุณลักษณะพิเศษของสินค้าจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นตัวนำ เพื่อทำให้ผู้บริโภคสนใจและเกิดภาพลักษณ์เชื่อมโยงระหว่างคุณลักษณะพิเศษกับพื้นที่แหล่งผลิตสินค้าที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์


แหล่งที่มา : คุณ ศิริพร บุญชู
รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์และมาตรฐานหม่อนไหม
กรมหม่อนไหม
edited by CMUAdmin on 30/4/2555
0 permalink
|

Home » ความรู้เรื่อง GI » ขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์





Powered by Jitbit Forum 7.2.13.0 © 2006-2011 Jitbit Software